ในช่วงปี 2015 ถึง 2019 ตลาด E-commerce ของประเทศไทยเติบโตขึ้นโดยเฉลี่ย 42% และในปี 2020 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลาดได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 80% เนื่องจากข้อจำกัดของการเดินทางจากมาตรการล็อกดาวน์ และการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อในที่ชุมชน ทำให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
E-commerce Platform เป็นเว็บไซต์ที่รองรับการขายสินค้าผ่านทางออนไลน์ ที่เหมาะกับคนที่ต้องการขายสินค้าแต่ไม่ต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ E-commerce เป็นของตัวเอง โดยมีทั้งรูปแบบที่มีค่าบริการและใช้งานได้ฟรีแตกต่างกันไปตามบริการแต่ละแพลตฟอร์ม
หัวข้อ
01. ความแตกต่างระหว่าง E-commerce Platform และเว็บไซต์ E-commerce ส่วนตัว
ระหว่างการขายสินค้าบน E-commerce Platform และเว็บไซต์ E-commerce ส่วนมีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่ในด้านค่าใช้จ่าย จำนวนทราฟิกและการทำการตลาด
ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นการทำเว็บ E-commerce ของตัวเองมีค่าใช้จ่ายในช่วงแรกที่สูงมากหากมีการจ้างคนภายนอกทำเว็บไซต์ให้ หรือถ้าคุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตนเองก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดลงไป ซึ่งราคาของการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้นมีราคาตั้งแต่ หกหลักต้น ๆ จนถึงเจ็ดหลักก็มี
การขายบน E-Commerce Platform มีค่าคอมมิชชัน เป็นส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์จากที่ร้านค้าขายได้ ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีค่าคอมมิชชันที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 3-10% ของแต่ละหมวดหมู่สินค้า นอกจากนี้มีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมอีก ดังนั้นถ้าสินค้าของเราขายดีมาก ในระยะยาวก็อาจจะต้องจ่ายค่าคอมมิชันไปเรื่อย ๆ
ทราฟิกเว็บไซต์ E-Commerce ส่วนตัวหากตัวสินค้าหรือแบรนด์ไม่ได้เป็นที่รู้จักตั้งแต่แรก จำนวนทราฟิกเว็บไซต์ในช่วงแรกนั้นจะมีน้อยมาก การจะเพิ่มทราฟิกได้นั้นจำเป็นต้องทำการตลาด การทำคอนเทนต์บน Social Media ต่าง ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ทราฟิกบน E-Commerce Platform ในแต่ละแพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว เนื่องจากมีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้มีทราฟิกเข้ามาจำนวนมาก แต่ทราฟิกที่เข้ามานั้นไม่ได้เข้ามาที่สินค้าของคุณโดยตรง แต่จะเป็นสินค้าทั้งหมดที่อยู่ใน E-Commerce Platform
เว็บไซต์ E-Commerce ส่วนตัว สามารถทำการตลาดได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเราสามารถปรับเว็บไซต์ได้ตามต้องการ สร้างความโดดเด่นและนำเสนอสินค้าให้น่าสนใจเพื่อดึงดูลูกค้า ทำ SEO บน google search ง่ายกว่า E-commerce Platform นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการได้
WordPress เป็นอีกโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมนำมาสร้างและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ รวมถึงเว็บไซต์ E-commerce บทความนี้จะอธิบายว่าทำไม WordPress จึงนิยมนำมาสร้างเป็นเว็บ E-commerce
02. WordPress คืออะไร
WordPress คือ CMS ที่ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Content Management System คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ และด้วยการที่เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูป จึงช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาและการจัดการเนื้อหาภายในเว็บได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถเด่นของ CMS คือ มีส่วนของการจัดการข้อมูล การสร้างหน้าเพจ ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆ ในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ Web Interface
WordPress เป็นโอเพ่นซอร์ส ที่สามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงภาษา หรือวิธีการเขียนโค้ดในการทำเว็บไซต์ มีธีมให้เลือกใช้มากมาย มีปลั๊กอินฟรีมากกว่า 55,000 ตัว พร้อมกับมีปลั๊กอินที่ช่วยในการทำเว็บ E-commerce ให้เลือกใช้อีกด้วย สำหรับการสร้างเว็บไซต์ ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะ E-commerce เท่านั้นทำให้ WordPress ยังเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการทำเว็บไซต์อื่นๆ อีกด้วย
03. ตัวช่วยในการสร้างสร้างแบรนด์
แบรนด์คือสิ่งที่ทำให้คุณพัฒนาจาก ‘อาชีพค้าขาย’ ไปเป็นธุรกิจแบบเต็มรูปแบบ เพราะแบรนด์ที่ดีจะสามารถอยู่ได้นาน หากสินค้าที่คุณขายมีหลายอย่าง หลายประเภทการสร้างแบรนด์ก็เป็นทิศทางที่ถูกต้อง ยกตัวอย่าง Xiaomi ที่ขายตั้งแต่กรรไกรตัดเล็บจนไปถึงโทรศัพท์มือถือ สินค้าบางอย่างก็ดูเหมือนเป็นของทั่วไป แต่เมื่อพูดถึงแบรนด์ของสินค้าทำให้รู้สึกมีความมั่นใจก่อนซื้อสินค้ามากขึ้น
การทำ Content Marketing คือเทคนิคการตลาดชนิดหนึ่งโดยใช้ Content เป็นเครื่องมือสร้างยอดขาย นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง Content เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ด้วยการเน้นทำ Content รูปแบบ Knowledge ที่มอบความรู้และมีประโยชน์สำหรับลูกค้า เมื่อกลุ่มลูกค้าเห็นว่า Content นี้มีคุณค่ากับเขามากพอก็จะเกิดก็สร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาสู่ธุรกิจของคุณ
ซึ่งคุณสมบัติหลักของ WordPress คือการสร้าง Conten ในรูปแบบ Blog ที่มาพร้อมปลั๊กอินและวิดเจ็ต เพื่อช่วยมากมาย อย่างการเผยแพร่ไปยัง Social Media Platform ต่างๆ ที่คุณสามารถกำหนด title , description , รูปภาพปก หรือ ทำSEO ด้วยเครื่องมือของ wordpress ได้
04. มีปลั๊กอินที่ช่วยให้คุณทำงานง่ายขึ้น
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า wordpress มีปลั๊กอินมากกว่า 55,000 ตัวให้เลือกใช้งาน สำหรับการทำเว็บ E-commerce ก็มีปลั๊กอินหลายตัวให้เลือกใช้ และตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ WooCommerce ที่มีข้อดีดังนี้
- ฟรี คุณสามารถใช้งาน WooCommerce ได้ฟรี และมีฟังก์ชั่นอื่นๆเพิ่มเติมที่ต้องชำระเงินเพื่อใช้งาน
- ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว เหมือนปลั๊กอินทั่วไป
- มีธีมที่รองรับการใช้งาน WooCommerce หลากหลายทั้งแบบชำระเงินและใช้งานฟรี
- มีความสามารถหลากหลายในการจัดการสินค้า
- การปรับแต่งตำแหน่งของข้อมูลสินค้า : ภาษา หน่วยวัด และสกุลเงิน จากการลงรายการสินค้า ไปจนถึงคำสั่งซื้อและการเรียกเก็บเงิน
- จัดการหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ง่าย
- สามารถใส่ แท็กและคุณลักษณะ , รีวิวและเรตติ้งสินค้าได้
- มีระบบการกรองและการคัดแยกสินค้า
- ตัวเลือกการชำระเงินและการจัดส่ง WooCommerce รองรับเกตเวย์การชำระเงินในตัว และสามารถเพิ่มตัวเลือกการชำระเงินอื่นๆ ได้โดยใช้ส่วนขยาย นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณค่าขนส่งและภาษีได้อีกด้วย
- มีความปลอดภัยสูง เนื่องจาก WooCommerce ได้รับความนิยมอย่างมากทางทีมงานที่พัฒนาปลั๊กอินนี้จึงทำการดูแลและอัพเดทปลั๊กอินให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ และผู้ใช้สามารถอัพเดทเวอร์ชั้นได้อย่างง่ายดายโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อเว็บไซต์
- ง่ายต่อการทำ SEO นอกจากการดูแลด้านความปลอดภัยเเล้ว WooCommerce ได้ปรับให้รองรับการทำ SEO ทั้งด้านความเร็วของปลั๊กอินและสามารถทำงานร่วมกับปลั๊กอิน SEO อื่นๆของ wordpress ได้อีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีปลั๊กอินสำหรับการทำเว็บ E-commerce อื่นๆอีกด้วย
- Easy Digital Downloads
- MemberPress
- BigCommerce
- Shopify
สรุปการทำเว็บไซต์ E-commerce ด้วย WordPress
การทำเว็บ E-commerce ส่วนตัวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการย้ายจาก E-commerce Platform หรือผู้ที่ต้องการเริ่มต้นขายสินค้าบนเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ และมีระบบสำหรับการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่พร้อมใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม ทั้งยังมีเครื่องมือสำหรับช่วยในการทำ E-commerce ตั้งแต่นำเสนอสินค้าการทำ Online Marketing ไปจนถึงขั้นตอนปิดการขายได้ภายในเว็บไซต์ที่เดียว